23 กรกฎาคม 2567

การจ้างทนายความจำเลย

              การหาทนายความและว่าจ้างให้เป็นทนายความจำเลยคดี ผบE

              วิธีการหาทนายความและว่าจ้างให้เป็นทนายความจำเลยคดี กู้ยืมเงินระหว่างสถาบันการเงินกับบุคคลทั่วไป สินเชื่อหมุนเวียน บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถการเกษตร ฯ ซึ่งเป็นคดีผู้บริโภคหรือเรียกอีกอย่างว่าคดี ผบE มีวิธีการพิจารณาคดีผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ของศาลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ การยื่นคำฟ้องและเอกสารต่าง ๆ ในคดีให้ยื่นผ่านระบบ Efiling ของศาล ดังนั้นการว่าจ้างทนายจึงสามารถว่าจ้างได้ทั่วประเทศ เกิดความสะดวกสบาย ลดค่าใช้จ่ายได้



18 กรกฎาคม 2567

กยศ. ฟ้องผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันจริง

                กยศ. หรือกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ฟ้องผู้กู้และผู้ค้ำประกันจริง หากผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาและผู้ค้ำประกันไม่ยอมชำระหนี้ และมีการบังคับคดีเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามพิพากษาด้วย เช่น นำยึดทรัพย์สิน ที่ดินออกขายทอดตลาด หรือหากผู้ค้ำประกันเป็นข้าราชการก็จะอายัดเงินปันผลสหกรณ์ หากมีรายได้จากการทำงานกับบริษัทเอกชน เป็นลูกจ้าง พนักงานบริษัท จะนำอายัดเงินเดือนส่วนที่เกินสองหมื่นบาทขึ้นไป

           การฟ้องคดีนั้น กยศ. จะมอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายเอกชนเป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน รวมทั้งการบังคับคดีด้วย





13 กรกฎาคม 2567

อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต 2 ปี

คำฟ้องให้จำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตขาดอายุความหรือไม่

อายุความที่โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ยกตัวอย่าง ในสัญญาเปิดใช้บัตรเครดิตระบุว่าผู้ใช้บัตรต้องชำระเงินทุกวันที่ 5 ของเดือน ดังนั้นหากผู้ใช้บัตรไม่ชำระเงินอีกเลย ให้เริ่มนับอายุความจากวันที่ 6 ของเดือนที่ไม่ชำระเป็นต้นไป 2 ปี นั่นคือช่วงเวลาที่โจมก์จะฟ้องได้ แต่หากเกิน 2 ปีแล้วโจทก์ยังฟ้องมา จำเลยก็สามารถยกข้อต่อสู้เรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพื่อให้ศาลพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้


12 กรกฎาคม 2567

โฉนดที่ดินติดจำนอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถนำยึดออกขายทอดตลาดได้


โฉนดที่ดินที่ติดจำนอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถนำยึดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดได้
ลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางหลายเจ้า เช่น กู้ยืมเงินกับธนาคารแล้วนำโฉนดที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นอีกด้วย เมื่อเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องศาลเพื่อให้ชำระหนี้ และศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถนำยึดโฉนดที่ดินที่จำนองอยู่กับธนาคารออกขายทอดตลาดได้ หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคำนวนดูแล้วว่าที่ดินที่จะนำยึดขายนั้นขายได้ราคามากกว่าหนี้ที่ลูกหนี้กู้ยืมกับธนาคารและมีเงินเหลือมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนหรือทั้งหมด
ยกตัวอย่าง ลูกหนี้กู้ยืมเงินธนาคาร 200,000 บาท ดอกเบี้ยคงค้าง 10,000 บาท และลูกหนี้ยังเป็นหนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้รายอื่นอีก 100,000 บาท เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไปขอคัดสำเนาโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดินและออกสำรวจดูแปลงที่ดิน จากนั้นก็จะประเมินว่าหากนำยึดออกขายทอดตลาดน่าจะขายได้ราคาเท่าไหร่ หากประเมินแล้วว่าน่าขายได้เกิน 210,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่ธนาคารก่อน ก็จะนำยึดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินออกขายทอดตลาด เมื่อชำระให้แก่ธนาคารแล้วส่วนที่เหลือจึงชำระให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และหากยังมีเงินเหลือจึงจะชำระให้แก่ลูกหนี้ต่อไป ตัวอย่างนี้เป็นกรณีขายโดยปลอดจำนอง
แต่หากทางธนาคารให้ขายโดยการจำนองติดไปกับโฉนดที่ดินด้วย ผู้ซื้อที่ดินต้องรับภาระผูกพันหนี้สินการจำนองด้วย ราคาขายก็จะถูกลงมาว่าขายโดยปลอดจำนอง หากขายได้ก็นำเงินมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และหากยังมีเงินเหลือจึงจะชำระให้แก่ลูกหนี้ต่อไป

07 กรกฎาคม 2567

ข้อต่อสู้ของจำเลยเช่าซื้อรถยนต์

 
ข้อต่อสู้ของจำเลยกรณีที่โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาดแล้วมาฟ้องให้จำเลยรับผิดค่าขาดราคา

              เมื่อเช่าซื้อรถยนต์แล้วส่งงวดรถไม่ไหว จึงนำรถไปคืนผู้ให้เช่าซื้อ จากนั้นผู้ให้เช่าซื้อใด้นำรถยนต์ออกขาดทอดตลาด ต่อมาผู้ให้เช่าซื้อได้ขายหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้ผู้อื่น เช่น บริษัท บริหารสินทรัพย์ต่าง ๆ จากนั้นผู้ซื้อหนี้ได้มาฟ้องผู้เช่าซื้อรถให้รับผิดค่าขาดราคา จากการนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาด เมื่อนำเงินค่าขายทอดตลาดมาหักจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วยังขาดอีก จึงได้มาฟ้องให้ผู้เช่าซื้อรับผิดในส่วนต่าง

     วิธีการดูว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ต่อโจทก์อย่างไรบ้าง

     ให้ดูคำฟ้องที่ส่วนเอกสารท้ายคำฟ้องว่ามีเอกสารเกี่ยวกับการขายทอดตลาดรถยนต์คันที่เช่าซื้อหรือไม่ หากไม่มีเอกสาร แสดงว่าโจทก์เพียงกล่าวอ้างว่าได้มีการขาดทอดตลาดรถยนต์ แต่ไม่มีเอกสารมาสนับสนุนคำฟ้อง จำเลยจึงมีข้อต่อสู้เรื่องโจทก์ขาดเอกสารการขายทอดตลาดมาแสดงต่อศาล ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2560 ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องชำระเงินแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาหมายเรียกและคำฟ้องให้รีบนำไปปรึกษาทนายความเพื่อแต่งตั้งให้เป็นทนายความยื่นคำให้การแก้คำฟ้องของโจทก์ต่อไป