สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 3๗
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
มาตรา 39 (2) ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
การยอมความกันในคดีแพ่ง โดยไม่ได้ตกลงให้ความรับผิดอาญาระงับหรือสละสิทธิในการ
ดำเนินคดีอาญาด้วย ไม่ถือว่าเป็นการยอมความกันในคดีอาญา หรือการที่ผู้เสียหายกำหนดเงื่อนไขให้
จำเลยปฏิบัติตามก่อน จึงยอมความกันนั้น ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
การยอมความเป็นการที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดต่างตกลงยินยอมระงับข้อพิพาท
ระหว่างกัน คดีความผิดอันยอมความได้นั้นจะยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้
หลักเกณฑ์การยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง
ระงับไป มีดังนี้
1. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับเฉพาะ คดีความผิดต่อส่วนตัว สำหรับข้อหาที่มิใช่
ความผิดต่อส่วนตัว สิทธิคดีอาญามาฟ้องหาระงับไปไม่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาล
แล้วแต่กรณี ยังคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้
2. ข้อตกลงยอมความจะต้องปรากฏว่าผู้เสียหายมีเจตนาจะมิให้จำเลยผู้กระทำความผิดต้อง
รับโทษอาญา ข้อตกลงยอมความต้องชัดเจ้งว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความหรือสละสิทธิในการ
ดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยแล้ว หรือพฤติการณ์แห่งคดีอาจแสดงว่าเป็นการยอมความกันแล้ว แม้ใน
สัญญาจะมิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าในคดีอาญาเป็นอันระงับไปก็ตาม แต่ถ้าตามพฤติการณ์แห่งคดี
พอถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยทำสัญญาโดยมุ่งประสงค์ให้ข้อหาทางอาญาระงับด้วย ก็ถือว่าเป็นการ
ยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดต่อส่วนตัวระงับไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น